Quantcast
Channel: สอวช.
Viewing all articles
Browse latest Browse all 193

กระทรวง อว. โดย สอวช. ร่วมหารือกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี และหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนากลไกสนับสนุนและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

$
0
0

(22 สิงหาคม 2567) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นำโดย นางสาวมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบนิเวศส่งเสริมศักยภาพนวัตกรรมของผู้ประกอบการ สอวช. และ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมภูมิภาคด้วยกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพัฒนากลไกสนับสนุนและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการนวัตกรรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี รศ. ดร.ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  นายสิทธิคุณ เทียมประเสริฐ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี นายมงคล จุลทัศน์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ เข้าร่วมหารือด้วย

ทั้งนี้ นางสาวมนันยา ได้กล่าวถึงโยบายของ สอวช. ในการส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่ตลาดต่างประเทศด้วยกลไก E-Commercial and Innovation Platform (ECIP) ซึ่งเป็นกลไกที่จะช่วยขยายตลาดสินค้านวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการนวัตกรรม หรือ Innovation-driven Enterprise (IDE) ที่มีรายได้เฉลี่ย 1,000 ล้าน จำนวน 1,000 ราย ภายในปี พ.ศ. 2570 โดย สอวช. ได้เล็งเห็นความสำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคที่เป็นกลไกในการพัฒนางานวิจัยไปสู่นวัตกรรม และสร้างผู้ประกอบการ IDE ตลอดจนสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค ซึ่ง แนวคิด E- Commercial and Innovation Platform (ECIP) ใช้ความเชี่ยวชาญเดิมของอุทยานวิทยาศาสตร์ และหน่วยบ่มเพาะต่าง ๆ เชื่อมโยงด้วยกลไกการขยายตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไปสู่ตลาดทั้งช่องทาง E-Commerce และตลาดสมัยใหม่อื่น ๆ ซึ่งอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทั้งด้านการพัฒนาส่งเสริมด้านวิจัยและนวัตกรรม ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการบ่มเพาะผู้ประกอบการที่โดดเด่น

ต่อมา ดร.ดนัยธัญ ได้นำเสนอโครงการระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรมภูมิภาคด้วยกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นโครงการที่ สอวช. กำลังดำเนินการร่วมกับศูนย์ CIC โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและนำร่องกลไกการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างไทยและต่างประเทศผ่านเครือข่ายสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และสถาบันความรู้ (Innovation Hub) ในการยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม ด้วยการใช้ประโยชน์ความร่วมมือระหว่างประเทศในการสนับสนุนผู้ประกอบในการขยายตลาดผ่านรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน หรือ Cross-border E-commerce (CBEC) โดยประเทศจีนเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญ เนื่องด้วยเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อสูง อีกทั้งรัฐบาลจีนได้มีนโยบายการสนับสนุนรูปแบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้วยยกเว้นภาษีสำหรับผู้บริโภคชาวจีนที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งช่องทาง CBEC เป็นโอกาสที่สำคัญของผู้ประกอบการ MSMEs ไทยที่มีความพร้อม เนื่องจากเป็นช่องทางสะดวกต่อการนำส่งสินค้าถึงผู้บริโภค อีกทั้งมีกฎระเบียบที่เข้มงวดน้อยกว่าการส่งออกสินค้าผ่านช่องทางปกติ นอกจากนี้ การค้าผ่านช่องทาง Social Commerce ในประเทศจีนยังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดสินค้าไปสู่ประเทศจีนได้

จากนั้นผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกลไกการสนับสนุนผู้ประกอบการในการขยายตลาดสินค้าไปสู่ประเทศจีน โดยที่ประชุมได้กล่าวถึงศักยภาพของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีจุดแข็งหลายอย่างโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป สินค้าหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้มีการศึกษาถึงแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ CIC และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกด้วย

หลังจากการหารือ คณะ สอวช. และที่ปรึกษาโครงการฯ ได้เยี่ยมชมโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ปัจจุบัน ได้มีการก่อสร้างโครงการโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) สำหรับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และศูนย์พัฒนาศักยภาพเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ที่มีการแบ่งพื้นที่ของโครงการเป็น 4 กลุ่มอาคาร ประกอบด้วย อาคาร Pilot Plant สำหรับการแปรรูปเนื้อสัตว์ อาคาร Pilot Plant สำหรับการแปรรูปผักและผลไม้ อาคาร Pilot Plant สำหรับการพัฒนาสินค้าสมุนไพรและเวชสำอาง และกลุ่มอาคารอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


Viewing all articles
Browse latest Browse all 193

Trending Articles


น้องแนทเกศริน ดาวโป๊สุดHot เต้นยั่ว กับชุดสีฟ้า sexy


ใหม่ ISUZU MU-X 2014-2015 ราคา อีซูซุ มิว เอ็กซ์ ตารางราคา-ผ่อน-ดาวน์


แอร์ LG ขึ้นCH 21ต้องแก้อย่างไรค่ะ


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


มันคือเพลงอะไรใครทราบบ้าง


อาชีพเสริมปักแผ่นเฟรม งานฝีมือทําที่บ้าน หารายได้พิเศษ ทำได้ทุกจังหวัด


ซูมอิน Hesong Entertainment ค่ายสังกัดดาราที่ทรงอิทธิพล พร้อมเปิดตัวสมาชิกใหม่!


มีใครหลงเชื่อสมัครสมาชิกกับบริษัทขายตรง Beyond Beauty (By PAJ) เหมือนเราบ้าง...


เตือนภัย บริษัท smart info tech โทรมาหลอกสมัคร SMS ดูดวงดูดเงิน


คนที่เคย บน ศาลพ่อปู่เรืองฤทธิ์ ฝั่งคลองแถว พิบูล


ด่วน! สพป.สกลนคร เขต 1 รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว และครูอัตราจ้าง 10 อัตรา


ปลาจีนที่วางขายในกระบะน้ำแข็งที่แม็คโคร ซื้อเอามาทำอะไรถึงจะอร่อยที่สุดครับ?


ใช้บัตร M Pass ถ้าจะนั่งที่นั่ง Honeymoon,Opera Chair...


ปลาทู พิณธุอร นางเอก AV สุดเอ็กซ์เสียวสะท้านคู่ นิกกี้ พิ้ม 18+


โกง ROV Mobile MOBA บน android


20 QR Code แต่งรูปอาร์ตๆ ใน Snapseed!!


ประกาศรายชื่อผู้ส่งใบแจ้งความจำนงขอเข้ารับการคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้าน...


วิธีสร้าง PivotTable จาก Data Source หลายตาราง


รีวิว Preen House ครีมเวชสำอางค์ Peppermint ดีท็อกซ์ผิว


ใครเคยซื้อไอโฟนมือ2จากร้านนินจาโอมบ้างคะ